
smartfinn
Matching Platform
ขายฝากอสังหาฯกับนักลงทุน
เช็กให้ชัวร์ก่อนลงมือเซ็นสัญญาขายฝากที่ดิน บ้าน คอนโด

ทุกวันนี้มีกลโกงในการทำสัญญาขายฝากที่ดิน บ้าน คอนโดหลายรูปแบบมาก ตัวอย่างเช่น พูดปากเปล่าต่อสัญญาขายฝากพร้อมดอกเบี้ยแสนโหด โดยที่ไม่มีลายลักษณ์อักษรยืนยันการต่อสัญญาขายฝาก นัดทำสัญญาขายฝากนอกรอบที่ไม่ใช่ที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ และอาจเป็นลู่ทางทำให้มิจฉาชีพหวังฮุบเอาโฉนดที่ดินไปด้วยกลโกงเหล่านี้ก็ได้ ดังนั้นสมาร์ทฟินน์จะชวนทุกคนไปเช็กให้ชัวร์ก่อนลงมือเซ็นสัญญาขายฝากที่ดิน บ้าน คอนโดอย่างไร? ให้ปลอดภัย
สัญญาขายการขายฝากคืออะไร?
การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของการขายฝากที่ดิน ซึ่งเป็นในลักษณะของลายลักษณ์อักษรที่ระบุข้อมูลวันที่ขายฝาก ทรัพย์สินที่ทำการขายฝาก ระยะเวลาการไถ่ถอน วงเงินดอกเบี้ยในการขายฝาก สิทธิและข้อตกลงต่าง ๆ ร่วมกันของผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากที่ต้องรับทราบเกี่ยวกับข้อกฎหมายและข้อตกลงก่อนทำนิติกรรม แล้วทำการลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาตามแบบของทางราชการ
ก่อนเซ็นสัญญาขายฝากต้องเช็กอะไรบ้าง?
- ชื่อและที่อยู่คู่สัญญาของผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝาก เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน การทำสัญญาสามารถเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
- รายการและลักษณะทรัพย์สินที่ขายฝาก ที่เป็นรายละเอียดของหลักทรัพย์นั้น ๆ เช่น เลขที่โฉนด เลขที่ดิน บ้านเลขที่ เนื้อที่กี่ตารางวา
- ราคาที่ขายฝากของราคาทรัพย์ที่ตกลงกัน โดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนทั้งจำนวนเงิน วิธีการชำระ ณ วันทำสัญญา
- จำนวนสินไถ่ คือ จำนวนเงินที่ผู้ขายฝากได้ทำการตกลงกับผู้รับซื้อฝากว่าต้องคืนเป็นจำนวนเงินเท่าไร หลังครบกำหนดสัญญาขายฝาก เพื่อเอาทรัพย์สินกลับคืนมา
- วันที่ขายฝากและกำหนดวันที่ครบกำหนดไถ่ จะระบุรายละเอียดวันที่ขายฝากวันแรกที่ทำธุรกรรมโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดิน และวันที่ครบกำหนดสัญญาการขายฝาก ซึ่งเป็นการตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย
- ผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมในการโอนและภาษี ซึ่งการทำสัญญาขายฝากเมื่อต้องทำธุรกรรมการโอนกรรมสิทธิ์จะต้องมีการชำระภาษีและค่าโอน ในสัญญาควรระบุให้ชัดเจนเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่าย เข้าใจตรงกัน และเพื่อป้องกันปัญหาในภายหลังว่าฝ่ายใดจะเป็นคนรับผิดชอบ
- เงื่อนไข ข้อตกลงเพิ่มเติม และการรับผิดเมื่อผิดสัญญา
การทำสัญญาต่าง ๆ ในท้ายสัญญามักจะมีเงื่อนไข หรือข้อตกลงในการรับผิดชอบหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญา ต้องทำข้อตกลงเพื่อให้เข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย กรณีที่ไม่ได้เป็นคนร่างสัญญาขึ้นมาเองก็ควรที่จะอ่านรายละเอียดให้ถี่ถ้วน
ตัวอย่างสัญญาขายฝาก
ขั้นตอนในการเซ็นสัญญาขายฝาก
ในการทำธุรกรรมสัญญาขายฝากที่ดินทั้งผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากจะต้องทำ ณ สำนักงานที่ดินเท่านั้น ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ฯ ตั้งแต่เริ่มทำสัญญาขายฝาก ไถ่ถอนสัญญา หรือต่อสัญญา หากไม่ได้ทำที่สำนักงานที่ดินอาจจะเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562
เมื่อถึงขั้นตอนการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ฯ จะอธิบายขั้นตอน ข้อกฎหมาย ข้อบังคับของการทำสัญญาขายฝาก ข้อตกลงในการทำสัญญาขายฝากกับผู้ขายฝากมีความรู้หรือมีความพร้อมในการขายฝากไหม พร้อมกับอธิบายให้ฟังว่าการขายฝากแตกต่างจากการจำนองอย่างไร เพื่อเป็นการบอกให้ผู้ขายฝากทราบว่าการทำสัญญาขายฝากจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และเป็นการป้องกันการเข้าใจผิด หรือรักษาสิทธิ์ผู้ขายฝากว่าไม่ได้ถูกหลอกลวงมาทำธุรกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดิน
ทั้งนี้การทำธุรกรรมทางที่ดินผู้ขายฝากจะต้องไปทำสัญญาขายฝากด้วยตัวเองทุกครั้ง ไม่ควรมอบอำนาจให้คนอื่นไปทำสัญญา เพราะเจ้าหน้าที่ฯ จะตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินของคนอื่นมาทำทุจริตก็ได้
สัญญาขายฝากจะได้กี่ฉบับ อยู่กับใครบ้าง?
เมื่อทำการเซ็นสัญญาขายฝากจะมี 4 ฉบับ จะเป็นเนื้อหาเดียวกัน โดยสัญญาขายฝากแต่ละฉบับจะถูกเก็บไว้ที่
- สำนักงานที่ดิน 1 ฉบับ
- กรมสรรพากร 1 ฉบับ
- ผู้ขายฝาก 1 ฉบับ
- ผู้ซื้อฝาก 1 ฉบับ
สำหรับสัญญาขายฝากเมื่อทำการเซ็นสัญญาแล้วจะแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้ หากต้องการแก้ไขสัญญาขายฝากต้องแก้ไขทั้ง 4 ฉบับ ซึ่งต้องแก้ไขสัญญาขายฝากที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น หากเกิดกรณีที่ผู้ขายฝากทำสัญญาขายฝากหาย หาไม่เจอสามารถไปขอคัดลอกต้นฉบับกับเจ้าหน้าที่ฯ ได้ แต่หากผู้ซื้อฝากทำสัญญาขายฝากหายจะต้องแจ้งความ แล้วนำใบแจ้งความมาเป็นหลักฐานในการขอสัญญาขายฝากฉบับใหม่กับเจ้าหน้าที่ฯ
ขั้นตอนการไถ่ถอนสัญญาขายฝาก
ผู้ซื้อฝากจะแจ้งเป็นหนังสือส่งไปทางไปรษณีย์ โดยจะมีรายละเอียดระยะเวลาการไถ่ถอน จำนวนเงินไถ่ถอน พร้อมกับแนบสำเนาสัญญาขายฝากไปพร้อมด้วย ซึ่งการแจ้งไถ่ถอนนี้จะทำไม่น้อยกว่า 3 เดือนและไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดสัญญาการไถ่ถอน หากต้องการขยายสัญญาขายฝากที่ดิน ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากจะต้องเดินทางไปทำหนังสือขยายสัญญาขายฝากต่อหน้าเจ้าหน้าที่ฯ เท่านั้น
ดังนั้นการทำสัญญาขายฝากเป็นขั้นตอนที่ไม่ใช่แค่เซ็นสัญญาได้เงินก้อนแล้วจบ ทุกขั้นตอนมีความละเอียดอ่อน ต้องศึกษาขั้นตอน ข้อกฎหมายให้ดี ๆ เพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัยของผู้ขายฝากเอง ไม่ให้บุคคลอื่นมาล่อลวงเอาโฉนดไปทำธุรกรรมทางที่ดิน หากไม่เข้าใจข้อกฎหมาย อ่านแล้วไม่เข้าใจ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขายฝากโดยตรง ซึ่งจะต้องเลือกบริษัทขายฝากที่มีความน่าเชื่อถือ อย่างบริษัทสมาร์ทฟินน์ฯ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขายฝาก บริษัทฯ จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีที่ตั้งสำนักงานชัดเจน ตรวจสอบได้ บริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ดูแลตลอดจนครบกำหนดสัญญา มีทีมงานหน่วยงานในรูปแบบองค์กร ปลอดภัยและเชื่อถือได้ให้การดูแล
บทความที่เกี่ยวข้อง
SMARTFINN
ให้บริการ ดอกเบี้ยต่ำ เพียง 0.75% ต่อเดือน
มีทีมผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาการขายฝาก
บริษัทปิดดีลมาแล้วมูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้านบาท และ matching นักลงทุนซื้อฝากใจดี ในระบบทั่วประเทศ
เพื่อให้ผู้ขายฝากได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุด อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย มีมาตรฐานฯ
รับคำปรึกษาจาก สมาร์ทฟินน์ ฟรี
อนุมัติไว ให้วงเงินสูง ไม่ดู Statement ไม่เช็คเครดิตบูโร
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.smartfinn.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
โทรศัพท์ 02-937-2289 , 094-445-7975 , 089-664-5359
LINE ID: @smartfinn

Smartfinn Team Matching Platform การขายฝากอสังหาฯ กับนักลงทุน เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และช่วย SMEs ให้มีสภาพคล่อง
บริษัท สมาร์ทฟินน์ โซลูชั่นส์ จำกัด
555 อาคารรสา อาคาร 2 ชั้น 25 ถนนพหลโยธิน
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
• • • • • •