
smartfinn
Matching Platform
ขายฝากอสังหาฯกับนักลงทุน
ทรัพย์เลยกำหนดไถ่ถอน (หลุดขายฝาก) ควรทำเช่นไร

ทรัพย์เลยกำหนดไถ่ถอน (หลุดขายฝาก) ควรทำเช่นไร
“ ทรัพย์หลุด ” จากการทำสัญญาขายฝาก เป็นปัญหาคาใจของเจ้าทรัพย์ ที่อดหวาดระแวงไม่ได้ แต่......สามารถป้องกันได้ ถึงกระนั้น ก็ยังมีปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้เช่นกัน โดยแยกเป็น 2 ปัจจัย คือ
- ปัจจัยภายนอก : ติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้ หรือผู้ซื้อฝากเบี้ยวนัด ไม่มาปรากฏตัวให้ไถ่ถอนทรัพย์ เมื่อครบกำหนดตามสัญญา (แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน 80% นั้น จะกลับกันค่ะ) ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ซื้อฝากตามหาผู้ขายฝากมากกว่า สมมุติว่า ถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับซื้อฝากไม่มา ในวันนัดหมายเพื่อทำสัญญาไถ่ถอน เมื่อเลยกำหนดตามวันที่ระบุในสัญญาแล้ว ***หากผู้ขายฝากต้องการหลักทรัพย์ของตนคืน ต้องทำการเจรจาต่อรอง เพื่อขอซื้อหลักทรัพย์นั้นกลับคืน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตกลงกัน และเงื่อนไขที่รับกันได้ ว่าผู้ซื้อฝาก (เดิม) จะขายกลับให้ในราคาเท่าไร (ในกรณีนี้ หากไปเจอผู้รับซื้อฝากที่ไม่ซื่อตรง ผู้ขายฝากอาจถูกเอาเปรียบได้) ดังนั้น ผู้ขายฝาก ควรรู้วิธีรับมือกับเหตุการณ์แบบนี้ก่อนทำการขายฝาก เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางทรัพย์) สามารถศึกษาวิธีรับมือกรณีผู้รับซื้อฝากไม่ยอมมาทำสัญญาได้ ในบทความ “ขายฝาก ทำไงไม่ให้สัญญาขายฝาก หลุด?” และบทความ การขายฝาก “เมื่อเจ้าหนี้วิ่งหนีลูกหนี้”
- ปัจจัยภายใน : เกิดจากตนเอง เพราะไม่มีเงินมาไถ่ถอน ก่อนทำสัญญาเงินกู้ทุกประเภท ควรทบทวนความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง รวมทั้งความน่าเชื่อถือของแหล่งเงินกู้ด้วย กรณีที่เป็นบริษัทฯ หรือนิติบุคคล มีที่ตั้งที่ทำการที่ชัดเจน ทั้งการติดตามผลงาน การให้คำปรึกษาและบริการดูแลตลอดสัญญาจะเขื่อถือได้มากกว่าบุคคล ซึ่งหากผู้ขายฝากได้รับการติดต่อ ทวงถามก่อนครบสัญญาล่วงหน้า หากผู้ขายฝากยังไม่พร้อมไถ่ถอน เตรียมเงินแล้วแต่ยังไม่พอ ควรแจ้งความประสงค์และข้อขัดข้องให้บริษัทฯ ทราบ เพื่อช่วยหาแนวทางแก้ปัญหาต่อไป อย่ารอจนจวนเจียนจะครบกำหนดไถ่ถอนแล้ว จึงติดต่อกลับมา เพราะยิ่งเวลาเหลือน้อย ผู้ขายฝากจะยิ่งเสียเปรียบ และอาจจะทำให้ผู้ขายฝากเสียทั้งทรัพย์ และเสียสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของได้ สาเหตุจากตัวคุณเอง ไม่แจ้งข้อเท็จจริงให้ทราบล่วงหน้าเพื่อแก้สถานการณ์ได้ทันเวลา
***ข้อควรปฏิบัติ***
- กรณีที่ไม่ต้องการทรัพย์สินนั้นแล้ว ผู้ขายฝากควรหาทางขายหลักทรัพย์ ในราคาตลาดเพื่อปิดหนี้ และนำเงินสดส่วนที่เหลือไปทำธุรกิจ หรือนำไปใช้ในเรื่องที่จำเป็น
- เจรจา ขอขยายสัญญากับผู้รับซื้อฝาก โดยติดต่อกับบริษัทฯ หรือคนกลาง ให้ประสานงานให้
- หากผู้รับซื้อฝากเดิม (กรณีเป็นคนรู้จักกัน ทำสัญญาเอง) ไม่ต่อสัญญาให้ ผู้ขายฝากควรหาผู้รับซื้อฝากรายใหม่ (หากผู้ขายฝาก ยังต้องการใช้ทรัพย์นั้นเป็นหน้าร้าน ที่ทำกินหรือพักอาศัย) ดังนั้น ทางออกที่ดี ก่อนครบกำหนดไถ่ถอน ควรเตรียมตัวล่วงหน้า อย่ารอให้ถึงวันครบกำหนดแล้วจึงจะหาทางแก้ปัญหาทีหลัง นอกจากจะแก้ไขไม่ทันการณ์แล้ว ยังจะต้องเจอกับค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเดิม และอาจจะต้องเสียทรัพย์ไปโดยปริยาย
อีกทางหนึ่งที่ช่วยได้ คือหาผู้ช่วยที่ไว้วางใจได้ ช่วยดูแลคุณและหลักทรัพย์ของคุณ สบายใจ ได้เงินหมุนธุรกิจ เดินต่อได้ กับสมาร์ทฟินน์ ผู้ช่วยส่วนตัวของผู้ขายฝาก ให้คุณวางใจได้เมื่อทรัพย์อยู่ในความดูแลจากเรา ด้วยมาตรฐานความเป็นบริษัทฯ คุณภาพ ดูแลผู้ขายฝากมากกว่า 500 ราย
SMARTFINN
ให้บริการ ดอกเบี้ยต่ำ เพียง 0.75% ต่อเดือน
มีทีมผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาการขายฝาก
บริษัทปิดดีลมาแล้วมูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้านบาท และ matching นักลงทุนซื้อฝากใจดี ในระบบทั่วประเทศ
เพื่อให้ผู้ขายฝากได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุด อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย มีมาตรฐานฯ
อนุมัติไว ให้วงเงินสูง ไม่ดู Statement ไม่เช็คเครดิตบูโร
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.smartfinn.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
โทรศัพท์ 02-937-2289 , 094-445-7975 , 089-664-5359
LINE ID: @smartfinn

Smartfinn Team Matching Platform การขายฝากอสังหาฯ กับนักลงทุน เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และช่วย SMEs ให้มีสภาพคล่อง
บริษัท สมาร์ทฟินน์ โซลูชั่นส์ จำกัด
555 อาคารรสา อาคาร 2 ชั้น 25 ถนนพหลโยธิน
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
• • • • • •